"ตำนาน ไปรษณีย์โทรเลขสยาม" พ.ศ.2429 ถึง พ.ศ.2468 ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับโทรศัพท์ในประเทศไทยไว้ว่า ประเทศไทยได้นำเอาโทรศัพท์มาใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2424 ตรงกับรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยกรมกลาโหม (กระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน) ได้สั่งเข้ามาใช้งานในกิจการเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ โดยติดตั้งที่กรมอู่ทหารเรือกรุงเทพฯ 1 เครื่อง และป้อมยามปากน้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการอีก 1 เครื่อง รวม 2 เครื่อง เพื่อจะได้แจ้งข่าวเรือเข้าออกในแม่น้ำเจ้าพระยาให้ทางกรุงเทพฯทราบ
-พ.ศ.2429 กิจการโทรศัพท์ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น จำนวนเลขหมายและบุคลากรก็เพิ่มมากขึ้น
ยุ่งยากแก่การบริหารงานของกรมกลาโหม ดังนั้น กรมกลาโหมจึงได้โอนกิจการของ
โทรศัพท์ให้ไปอยู่ในการดูแลและดำเนินการของกรม ไปรษณีย์โทรเลข ต่อมา
กรมไปรษณีย์โทรเลขก็ได้ขยายกิจการโทรศัพท์จากภาครัฐสู่เอกชน โดยให้ประชาชน
มีโอกาสใช้โทรศัพท์ได้ ในระยะนี้เครื่องที่ใช้จะเป็น ระบบแม็กนีโต(Magneto)หรือระบบ
โลคอลแบตเตอรี่ (Local Battery )
-พ.ศ.2450 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้สั่งโทรศัพท์ ระบบคอมมอนแบตเตอรี่
(Common Battery) หรือ เซ็นทรัล แบตเตอรี่(
สะดวกและประหยัดกว่าระบบแม็กนีโตมาก
พ.ศ.2479 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้สั่งซื้อชุมสายระบบสเต็บบายสเต็บ(Step by Step)
ซึ่งเป็นระบบอัตโนมัติสามารถหมุนเลขหมายถึงกันโดยตรง โดยไม่ต้อง
ผ่านพนักงานต่อสาย(Operator) เหมือน โลคอลแบตเตอรี่ หรือ เซ็นทรัล
แบตเตอรี่
-พ.ศ.2497 เนื่องจากกิจการโทรศัพท์ได้เจริญก้าวหน้ามาก ประชาชนนิยมใช้
แพร่หลายไปทั่วประเทศ กิจการใหญ่โตขึ้นมากทำให้การบริหารงานลำบากมากขึ้น
เพราะกรมไปรษณีย์โทรเลขต้องดูแลเรื่องอื่นอีกมาก ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์
-พ.ศ.2497 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ
ตั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยขึ้น โดยแยกกองช่างโทรศัพท์กรมไปรษณีย์โ
ทรเลขมาตั้งเป็นองค์การโทรศัพท์แห่ง ประเทศไทยขึ้น มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ
สังกัดกระทรวงคมนาคมมาจนถึงปัจจุบัน องค์การโทรศัพท์หลังจากที่ได้รับการ
จัดตั้งขึ้นแล้ว
ก็ได้รับโอนงานกิจการโทรศัพท์มาดูแล
-พ.ศ.2517 องค์การโทรศัพท์ก็สั่งซื้อชุมสายโทรศัพท์ระบบคอสบาร์(Cross Bar)
มาใช้งานระบบคอสบาร์เป็นระบบอัตโนมัติเหมือนระบบสเต็บบายสเต็บแต่ทันสมัยกว่า
ทำงานได้เร็วกว่า มีวงจรพูดได้มากกว่า และขนาดเล็กกว่า
พ.ศ.2526 องค์การโทรศัพท์ได้นำระบบชุมสาย SPC (Storage Program Control)
มาใช้งาน ระบบ SPC เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer)
ทำงานได้รวดเร็วมาก ขนาดเล็ก กินไฟน้อย และยังให้บริการเสริมด้าน อื่น ๆ ได้อีกด้วย
ในปัจจุบันชุมสายโทรศัพท์ที่ติดตั้งใหม่ ๆ จะเป็นระบบ SPC ทั้ง หมด ระบบอื่น ๆ
เลิกผลิตแล้ว ประเทศไทยเรากำลังเร่งติดตั้งโทรศัพท์เพื่อให้พอใช้กับประชาชน
ดังจะเห็นจากโครงการ 3 ล้านเลขหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 และโครงการอื่น ๆ ต่อไป รวมทั้งวิทยุโทรศัพท์อีกด้วย
เพื่อเสริมให้ระบบสื่อสารในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ เอื้ออำนวยต่อการ
พัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
วิวัฒนาการโทรศัพท์มือถือ มีการพัฒนามาเรื่อยๆ สังเกตุได้จาก
• รูปร่างขนาดใหญ่ เป็น รูปร่างขนาดเล็ก
• ภาพหน้าจอขาว – ดำ เป็น ภาพหน้าจอ สี
• ใช้สำหรับพูดคุยระหว่าง คน 2 คน เป็น ประชุมสาย ตั้งแต่ 3 สายขึ้นไปได้
• ใช้ฟังเพลงได้ – ใช้ดูหนังได้ MP3
• เป็นกล้องถ่ายรูป – เป็นกล้องวีดีโอได้ อัดเสียงสนทนาได้
• ใช้เป็นเครื่องคิดเลข เป็น ออร์แกไนเซอร์ จดบันทึกข้อมูล
• และอีกหลายๆ คุณสมบัติของโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ
ปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือ ได้พัฒนาการมามาก จะเห็นได้จากคุณสมบัติ อาทิเช่น
• สามารถใช้งานได้ทั้งโทรศัพท์และออร์แกไนเซอร์
• สามารถใช้งานได้ยาวนานโดยไม่ต้องชาร์ทไฟ
• สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้ด้วยหน่วยความจำมากมายหากไม่พอซื้อเพิ่มได้
• รองรับระบบการใช้งานแบบ wireless Modem และ Business E-mail สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้โดยใช้ Bluetooth หรือ USB
ใน ความคิดเห็นส่วนตัว โทรศัพท์ไม่เพียงแต่จะติดต่อสื่อสารกันเท่านั้น อาจทำงานให้เราได้ด้วย หรือ การพัฒนาการเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น PDA หรือ Pocket Pc ในอนาคตวิวัฒนาการของโทรศัพท์อาจจะเป็น เครื่องเจาะเวลาหาอดีต หรือ อนาคต ก็เป็นไปได้ เช่นนึกถึงอดีตเมื่อ 7 ปีที่ผ่านมาก็กด และ เราสามารถย้อนกลับไปในอดีตได้ หรือหากต้องการทราบอนาคต ก็กดปุ่มและไปยังอนาคตอีก 7 ปีข้างหน้าได้ โทรศัพท์มือถือ อาจจะเป็นอุปกรณ์ประหยัดน้ำมัน หากนำโทรศไปใช้บนรถยนต์ เนื่องจากในอนาคตรถยนต์อาจจะขับเคลื่อนด้วย ระบบเครือข่าย ผ่านดาวเทียม(อาจจะ) เนื่องจากน้ำมันราคาแพงขึ้นทุกวัน วิวัฒนาการต่างๆ เกิดจากการคิดที่หลุดกรอบ ดังนั้นใครจะรู้ว่า อาจมีโทรศัพท์มือถือเจาะเวลาหาอดีต หรือ โทรศัพท์มือถือประหยัดน้ำมัน ดังเช่นที่คนสมัยโบราณไม่เชื่อว่าเราจะบินได้โดยเครื่องบิน โทรศัพท์อาจจะมีขนาดเล็กเหมือนแหวน และพอจะใช้ก็แปลงร่างออกมาได้ใครจะรู้
ข้อมูลจาก : http://pirun.ku.ac.th
http://www.bangkaew.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น